เริ่มพูดคุยเรื่องผลกระทบของการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม กับครอบครัวและเพื่อน ๆ หรือบนสื่อสังคมออนไลน์ - เนื้อน้อยๆ ผักเยอะๆ - กรีนพีซ - เนื้อน้อยๆ ผักเยอะๆ - กรีนพีซ

เริ่มพูดคุยเรื่องผลกระทบของการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม กับครอบครัวและเพื่อน ๆ หรือบนสื่อสังคมออนไลน์

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว

เริ่มพูดคุยเรื่องผลกระทบของการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม กับครอบครัวและเพื่อน ๆ หรือบนสื่อสังคมออนไลน์

การปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ป่าไม้ น้ำ และสุขภาพของเรา หากคุณต้องการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาให้กับเพื่อนและครอบครัว แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เรามีข้อมูล 11 ข้อ ที่แสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดจากการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม

  • จำนวนปศุสัตว์บนโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จำนวนไก่ หมู และวัว ที่ถูกฆ่าต่อประชากรหนึ่งคนมากขึ้นกว่าสามเท่าในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2552 หรือมีสัตว์ถูกฆ่ามากกว่า 10 ตัวต่อประชากรโลก 1 คนในปี พ.ศ. 2552
  • การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม คือภัยคุกคามที่น่ากลัวต่อสภาพภูมิอากาศ – มีการคาดการณ์ว่าหากเราไม่ทำอะไรเลย ก๊าซเรือนกระจกที่มาจากภาคเกษตรกรรมจะเพิ่มมากถึงร้อยละ 52 ในปี พ.ศ.2593 และ ร้อยละ 70 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรจะมาจากการปศุสัตว์
  • การทำปศุสัตว์ใช้พื้นที่ 1 ใน 4 ของพื้นดินบนโลก ร้อยละ 26 ของพื้นผิวดินถูกใช้เพื่อเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์
  • มูลสัตว์จากการทำปศุสัตว์ ทำลายมหาสมุทรและแหล่งน้ำจืด การทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมมีผลต่อการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเขตมรณะ (dead zone) โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 จากปี พ.ศ.2535
  • การทำปศุสัตว์มีส่วนสร้างผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่า ๆ กับที่เกิดจาก รถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ และเรือรวมกัน โดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นร้อยละ 14 หรือเท่ากับการปล่อยจากภาคการขนส่งทั้งหมดรวมกัน
  • การผลิตเนื้อสัตว์ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมหาศาล เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโปรตีนต่อกรัม การผลิตเนื้อวัวใช้น้ำมากกว่าการผลิตถั่วเหลืองถึง 6 เท่า
  • เนื้อสัตว์แปรรูปถูกจัดประเภทให้เป็นสาเหตุของการก่อโรคมะเร็ง ในปี 2558 องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติระบุให้เนื้อแดง “อาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์” และเนื้อสัตว์แปรรูปเป็น “สารก่อมะเร็งในมนุษย์”
  • การลดกินเนื้อสัตว์หมายถึงอาหารที่มากขึ้นสำหรับประชากรโลก อมูลทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การลดกินเนื้อสัตว์และกินผักมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม เราจะสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนเท่าเดิมเพื่อเลี้ยงประชากรนับล้านคนได้อย่างเพียงพอ
  • การทำปศุสัตว์ใช้ยาเป็นจำนวนมาก การใช้ยาปฏิชีวนะปริมาณมากในการปศุสัตว์ ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กระทบต่อประสิทธิผลของการใช้ยาเพื่อการรักษาในสัตว์และมนุษย์
  • การกินผักมากขึ้นและลดกินเนื้อสัตว์ลงอาจช่วยชีวิต การลดกินเนื้อสัตว์ และกินผักและพืชตระกูลถั่วมากขึ้น สามารถลดความเสี่ยงการเสียชีวิตลงได้ถึง 5 ล้านคนต่อปี หรือ 9 คนต่อนาที
  • เราสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้ เราสามารถเพิ่มการกินผักและลดการกินเนื้อสัตว์ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และโรงอาหาร เราสามารถเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศแทนการอุดหนุนกิจการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เราสามารถเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในโรงเรียน เมือง และรัฐบาลของเราได้

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยเรื่องวิสัยทัศน์กรีนพีซ ปี 2593 เรื่องการทำปศุสัตว์ ได้ที่ www.greenpeace.org/livestock_vision

  • ร่วมแบ่งปัน

    ร่วมกับเราเพื่อเปลี่ยนระบบอาหาร

    ร่วมบริจาค
  • เปลี่ยนแปลงชุมชนของคุณ

    สิ่งที่คุณสามารถทำได้ที่บ้านของคุณ

    ลงมือทำ
  • เริ่มได้ที่บ้านของคุณ

    สิ่งที่คุณสามารถทำร่วมกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ได้

    ร่วมกับเราตอนนี้